เพิ่มศักยภาพองค์กรสาธารณกุศลเพื่อตอบแทนสังคม ผ่านนวัตกรรมการลงทุนให้การบริหารจัดการความเสี่ยงและการเงินเป็นไปอย่างเหมาะสม
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเร่งกระจายวัคซีนโควิด-19 เพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายและหยุดยั้งการแพร่ระบาดให้ได้โดยเร็วที่สุด หลายประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางต้องพบกับความท้าทายในการหาแนวทางให้ประชากรสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังจะเห็นได้จากความพยายามขององค์กรสาธารณกุศลระดับโลกอย่างมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ซึ่งได้มอบเงินบริจาคกว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ* เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 สำหรับการทดลอง รักษา และเร่งกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้คนทั่วทั้งทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และประเทศอื่นๆ
องค์กรสาธารณกุศลถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางสังคมมาอย่างยาวนาน ทุกหน่วยงานล้วนมีปณิธานที่ยิ่งใหญ่และน่าชื่นชม อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ที่ดีต้องมาพร้อมกับโครงสร้างทางกลยุทธ์ที่ครอบคลุม จึงจะสามารถสานต่อกิจกรรมเพื่อสังคมได้อย่างยั่งยืน
ดร. ตรีพล ภูมิวสนะ Private Banking Business Head Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “KBank Private Banking ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับองค์กรสาธารณกุศลหลายแห่งในประเทศไทย และเล็งเห็นว่าการลงทุนเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสาธารณกุศลสามารถพึ่งพาตนเองและบรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือสังคมได้ ในฐานะผู้ให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ KBank Private Banking จึงมองเห็นโอกาสที่จะนำตัวอย่างแนวทางการดำเนินงานที่โดดเด่นขององค์กรสาธารณกุศลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ที่ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และการตัดสินใจลงทุน มาเผยแพร่แก่สาธารณชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปรับใช้ เพื่อยกระดับศักยภาพในการดำเนินงาน และสานต่อเจตนารมณ์อันดีให้ยั่งยืนต่อไป”
สานต่อเจตนารมณ์เพื่อสังคมด้วย Venture Philanthropy
บิล เกตส์ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นอภิมหาเศรษฐีที่ใจบุญที่สุด ได้ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) กับอดีตภรรยาขึ้นเมื่อกว่า 2 ทศวรรษก่อน ปัจจุบันมูลนิธิได้รับการขนานนามให้เป็นต้นแบบแห่ง Venture Philanthropy ซึ่งเป็นรูปแบบกิจการสาธารณกุศลที่ใช้เครื่องมือในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนทางสังคม (Social Return) และสิ่งแวดล้อม (Environment Return) ควบคู่กับการสร้างรายได้ทางการเงิน (Financial Return) โดยมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ มีแนวทางการลงทุนที่ชัดเจน คือ กว่า 95% ของสินทรัพย์จะนำไปลงทุนผ่านทางกองทรัสต์ของมูลนิธิในรูปแบบต่างๆ เช่น การถือครองหุ้นในบริษัทเอกชน หรือการลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนและภาครัฐ ภายใต้กฎเกณฑ์ว่าจะไม่มีการเข้าร่วมลงทุนในกิจการยาสูบและสิ่งมึนเมา ทั้งนี้ ทรัพย์สินต่างๆ ของกองทรัสต์จะต้องสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี โดยผลตอบแทนที่ได้นั้นจะนำไปสนับสนุนงานวิจัยสำคัญต่างๆ อาทิ ด้านสุขอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ การศึกษา เทคโนโลยี และปัญหาด้านความไม่เท่าเทียมในหลากหลายประเทศทั่วโลก เป็นต้น นอกจากนี้ ทุกทรัพย์สินยังต้องสามารถคงอยู่ต่อไปอีก 20 ปี หลังจากการเสียชีวิตของสองผู้ก่อตั้ง ซึ่งทำให้มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ เป็นเพียงไม่กี่มูลนิธิของโลกที่กำหนดเป้าประสงค์ในการสร้างประโยชน์แก่มนุษยชาติไว้อย่างชัดเจน
บริหารกองทุนการกุศลให้มั่นคงด้วยการกระจายความเสี่ยงระยะยาว
มูลนิธิแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA Foundation) จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านการศึกษา ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกองทุนที่มั่นคงให้กับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ มูลนิธิมีหลักการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงที่หลากหลายในระยะยาว เพื่อช่วยลดทอนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมกับการตั้งเป้าผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยได้ตั้งกรอบงบประมาณในการลงทุนสำหรับหุ้นทั่วโลกประมาณ 35-70% และหุ้นภาคเอกชนที่ 10-30% โดยส่วนที่เหลือจะเข้าลงทุนในกองทุนต่างๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ และการรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติ เป็นต้น อีกหนึ่งการลงทุนที่โดดเด่นของมูลนิธิก็คือ การยึดหลักปรัชญาด้าน ESG (Environmental, Social, Governance) โดยกระบวนการตัดสินใจลงทุนในทุกขั้นตอนจะต้องคำนึงถึงผลกระทบเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม และการจัดการที่ดีเป็นที่ตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการดำเนินงานของมูลนิธิที่ต้องการผลักดันบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพสู่การสร้างสรรค์ผลงานและมอบประโยชน์แก่สังคมรุ่นหลังสืบไป
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิกผ่านการวางแผนการลงทุนที่ชัดเจน
เช่นเดียวกับมูลนิธิด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส องค์กรสาธารณกุศลในประเทศไทยอย่าง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ก็ยึดมั่นในหลัก ESG และการลงทุนระยะยาวผ่านการกระจายสินทรัพย์ที่หลากหลายทั้งในไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นในการรักษาความสมดุลระหว่างความปลอดภัยของเงินต้น และผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีกระบวนการอนุมัติแผนการลงทุนที่วางโครงสร้างไว้อย่างดี มีการกลั่นกรองเป็นลำดับชั้นจากทั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการ คณะจัดการกลยุทธ์การลงทุน และผู้จัดการกองทุนหรือฝ่ายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารและจัดการความมั่นคงของสมาชิกได้ตรงตามเป้าหมาย พร้อมกับสร้างความมั่นคงด้านผลตอบแทนและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สมาชิกข้าราชการเมื่อถึงวาระเกษียณ
“ท่ามปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมซึ่งได้ทวีความรุนแรงขึ้นจากวิกฤตด้านโรคระบาด เครือข่ายองค์การสาธารณกุศลที่มีความเข้มแข็งจะยิ่งมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวอย่างของ 3 มูลนิธิระดับโลกและระดับประเทศได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า องค์ความรู้ทางด้านการลงทุนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคมได้ในหลายมิติ โดยนวัตกรรมการลงทุนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในการดำเนินงานขององค์กรสาธารณกุศลในปัจจุบัน” ดร. ตรีพล กล่าวสรุป
# # #
เกี่ยวกับ KBank Private Banking
KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งอย่างครบวงจร ด้วยมาตรฐานระดับสากล แก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยให้บริการในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา สร้างความเติบโต และส่งต่อความมั่งคั่ง ครอบคลุมทุกประเภททรัพย์สิน ทั้งทรัพย์สินทางการเงิน ธุรกิจครอบครัว อสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรระดับโลก Lombard Odier ทำให้ KBank Private Banking สามารถตอบสนองทุกโอกาสการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบและชีวิตที่ไร้กังวล แก่ลูกค้าคนสำคัญของธนาคาร
Post Top Ad
Thursday, July 8, 2021
เจาะลึกแนวคิด 3 มูลนิธิชั้นนำของโลกที่มุ่งสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันที่ยั่งยืน
Tags
# Economy
Share This
About The Tellus Post
Economy
Tags
Economy
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Post Bottom Ad
Author Details
Templatesyard is a blogger resources site is a provider of high quality blogger template with premium looking layout and robust design. The main mission of templatesyard is to provide the best quality blogger templates which are professionally designed and perfectlly seo optimized to deliver best result for your blog.
No comments:
Post a Comment