เกษตรกร จับมือ CPF ปลูกข้าวโพดไม่รุกป่า ปลอดเผา สร้างต้นทางห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน - The Tellus Post

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, July 12, 2021

เกษตรกร จับมือ CPF ปลูกข้าวโพดไม่รุกป่า ปลอดเผา สร้างต้นทางห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สร้างความร่วมมือกับเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามแนวทางที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งปลูกที่ไม่รุกพื้นที่ป่า และปลอดการเผา และยังเดินหน้าให้ความรู้เกษตรกรในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ผ่านระบบออนไลน์ช่องทางต่างๆ อาทิ Facebook Fanpage , Youtube Chanel และ Line Group หนุนเกษตรกรเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการเพาะปลูก สร้างรายได้เพิ่ม เป็นฐานการผลิตวัตถุดิบหลักของห่วงโซ่ผลิตอาหารที่ยั่งยืนของซีพีเอฟ


นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรสำหรับซีพีเอฟ กล่าวว่า ปัจจุบัน ซีพีเอฟ จัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ 100% ระบุได้ถึงแหล่งปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า และปลอดการเผา โดยดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ในโครงการ "เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน" อย่างต่อเนื่องสู่ปีที่ 6 เพื่อเป็นคู่คิดเกษตรกรปลูกข้าวโพดมีความรู้ ความเข้าใจ ปลูกข้าวโพดให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ เตรียมดินถูกวิธี ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการปลูกที่ทันสมัย ตลอดจนเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด มีความมั่นใจมีตลาดรับซื้อ สามารถขายได้ในราคาที่ดี ซึ่งเป็นการยกระดับรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกร เป็นการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ และแก้ปัญหาเกษตรกรถูกกดราคาขายที่ยั่งยืน

"บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดซื้อวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง สำหรับในปีการผลิตนี้ บริษัทฯ ขอเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดที่รับผิดชอบ ด้วยการลงทะเบียนการเพาะปลูกในระบบตรวจสอบย้อนกลับของบริษัทที่ https://traceability.fit-cpgroup.com/ ช่วยให้เกษตรกรมั่นใจเรื่องการมีตลาดรับซื้อและราคาขายที่ได้มาตรฐาน" นายวรพจน์กล่าว

นับตั้งแต่ บริษัทฯ นำระบบตรวจสอบย้อนกลับมาใช้เพื่อระบุแหล่งปลูกข้าวโพด ตามหลักการ "ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ" และโครงการ "เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน" ได้มีส่วนช่วยสนับสนุนเกษตรกรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ และเกษตรกรร่วมมือปรับเปลี่ยนสู่การปลูกแบบปลอดเผา (zero burn) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายชัชวาลย์ มิกขุนทด "ชัช" เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก พื้นที่ 300 ไร่ ในพื้นที่ ต.หินดาด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนและเพื่อเกษตรกรในพื้นที่ต.หินดาด 230 ครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการ "เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน" เริ่มปลูกข้าวปลายเดือนมิถุนายน ยืนยันว่าการไถกลบตอซังแทนการเผามีผลดี ช่วยรักษาธาตุอาหารให้กับดิน และนับตั้งแต่ได้มาร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2560 เกษตรกรมีความรู้และเข้าใจเทคนิคการปลูกที่ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ตั้งแต่การตรวจธาตุอาหารในดิน เตรียมดิน การปลูก การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม ช่วยให้อัตราการงอกดีกว่าเดิม ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น สามารถประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ และปุ๋ยได้มากกว่าเดิม และที่สำคัญ เกษตรกรทุกคนมั่นใจมีตลาดรับซื้อแน่นอน


"ผมและเพื่อนเกษตรกร ได้ประโยชน์จากโครงการฯ เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น จากผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด เกษตรกรในกลุ่มทุกคนสามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ได้โดยตรง ซึ่งมีกระบวนการรับซื้อที่โปร่งใส ได้ราคาตามคุณภาพผลผลิต" นายชัชวาลย์กล่าว

ด้าน นายสุริยันต์ ทองนาค "ตี๋" เกษตรกรปลูกข้าวโพดในต.พังเทียม อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา เล่าว่า มาเข้าร่วมโครงการ "เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน" เมื่อปี 2560 รู้จักโครงการจากเกษตรกรในต.บัลลังก์ อ.โนนไทย ซึ่งทำให้มีความรู้ในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และทำให้ผลผลิตมีความชื้นตามที่โรงงานอาหารสัตว์ต้องการ ซึ่งช่วยให้สามารถขายผลผลิตได้ราคาที่ดีขึ้น สำหรับ ผลผลิตของปีที่ผ่านมาเก็บเกี่ยวได้เป็นที่น่าพอใจ และได้ราคาขายที่ดี ในปีนี้ตนและเกษตรกรในพื้นที่ ได้นำข้อมูลปริมาณน้ำฝนมาช่วยกำหนดเวลาการปลูก เพื่อลดการความเสียหายจากฝนทิ้งช่วงยาว และจะเน้นเรื่องยุติการเผาหลังเก็บเกี่ยว เพื่อช่วยฟื้นฟูธาตุอาหารในดินและอากาศในชุมชนจะดีขึ้น./

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages