หลายครั้งที่เราอาจจะเคยได้ยินว่าคนเราจะรู้คุณค่าของการใช้ชีวิต ก็ต่อเมื่อเดินทางมาถึงวันสุดท้ายของชีวิต แต่หากเราได้เคยลองพูดคุยกับกลุ่มคนที่ทำงานอยู่ในสภาวะระหว่างความเป็นความตาย เราอาจจะได้ยินแนวคิดการใช้ชีวิตที่แตกต่างออกไป “ทีมแพทย์ฉุกเฉิน” คือกลุ่มคนที่น่าจะตอบคำถามเรื่องคุณค่าของการใช้ชีวิตได้ดีที่สุด เพราะพวกเขาเหล่านี้ต้องทำงานคลุกคลีอยู่กับความเป็น ความตายและสถานการณ์ฉุกเฉินของผู้คนในแต่ละวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดที่ยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละวันของไทยยังทะลุหลักหมื่นคน การทำงานของทีมแพทย์ฉุกเฉินเหล่านี้ยังคงต้องขับเคลื่อนต่อไปแม้ว่าเหตุการณ์จะยังไม่ทุเลาลงก็ตาม
ชีวิตนักกู้ชีพฉุกเฉินที่หัวใจและร่างกายต้องพร้อมไปด้วยกัน
นายย๊ะหยา มั่นคง, นายศุภกิตติ์ เวียนเสี้ยว, นายณัฐกิต ศรีเนาเวช และนายสุรศักดิ์ แต้มครบุรี คือ 4 หนุ่มตัวแทนแห่งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ที่มาร่วมแชร์แนวคิดและประสบการณ์ทำงานในฐานะนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่ต้องรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนในทุกๆวัน
“สิ่งที่ทำให้พวกเรามาอยู่ร่วมกันในทีมนี้ได้ เพราะมีเป้าหมายเดียวกันคือเราอยากทำงานที่รักและมีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอื่น อาจดูเป็นแนวคิดทั่วๆไปแต่การที่ทำงานอยู่ตรงนี้ได้ผมคิดว่าการมีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นเรื่องสำคัญมากนะครับ เพราะเราพบเจอความเป็นความตายในทุกๆ วัน บางครั้งคนที่เราช่วยกลับเสียชีวิตลงระหว่างทางไปโรงพยาบาลก็มี แต่แน่นอนว่าทุกครั้งที่เราออกปฏิบัติงานเป้าหมายของเราคือการช่วยเหลือชีวิตคนให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากจิตใจของเราที่ต้องเตรียมพร้อมและตื่นตัวอยู่เสมอเวลาที่ลงเวรแล้วร่างกายเราเองก็ต้องพร้อมด้วย ยิ่งตอนนี้การออกทำงานในแต่ละครั้งมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นทั้งการใส่ชุด PPE การเฝ้าระวังโควิด ทุกความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคในการทำงานเพราะเป้าหมายคือ เราต้องการช่วยเหลือชีวิตของผู้คน”
เพราะชีวิตจริงไม่มีสแตนด์อิน และการสั่งคัต
“สถานการณ์ฉุกเฉินที่ทีมเราเคยได้เข้าไปช่วยเหลือมีหลากหลายรูปแบบมากครับ มีทั้งช่วยเหลือคนคลอดลูกภายในบ้าน การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงผ่านทางเรือ หรือการช่วยเหลือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิดในสถานที่ๆรถเข้าไม่ถึง มีเคสหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้ที่ทีมได้เข้าไปช่วยเหลือคุณยายอายุ 98 ปีที่ติดเชื้อโควิดและพักอาศัยอยู่คนเดียวในบ้านไม้หลังเล็กๆ ที่ทางเดินไปนั้นต้องเดินข้ามคลองโดยมีไม้กระดานแผ่นเดียว ทำให้เราต้องจอดรถพยาบาลทิ้งไว้แล้วแบกอุปกรณ์แล้วเดินเท้าไปอุ้มคุณยายออกมา แต่เราก็สามารถช่วยเหลือคุณยายออกมาได้”
A-B-C-D คีย์เวิร์ดสำคัญของทีมเวิร์ค
ด้วยบทบาทหน้าที่ของทีมปฏิบัติการฉุกเฉินเหล่านี้คือการทำงานแข่งกับความเร่งด่วนเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุดในทุกๆครั้งที่ออกไปปฏิบัติงานพวกเขาจะมีการวางแผนและแบ่งหน้าที่ในทีมอยู่เสมอ
“ในการปฏิบัติงานทุกครั้งเราจะจัดทีมออกไปเฉลี่ยครั้งละประมาณ 3-4 คนแล้วแต่ความรุนแรงของสถารการณ์ ซึ่งเราจะมีตัวย่อเรียกชื่อตำแหน่งความรับผิดชอบของแต่ละคนดังนี้ A-Airway ดูแลทางเดินหายใจผู้ป่วย, B-Breathing การช่วยกระตุ้นเรื่องระบบการหายใจ, C-Circulation ดูแลเรื่องการไหลเวียนเลือดและการให้น้ำเกลือผู้ป่วย, และ D-Disability การประเมินและเช็คความรู้สึกตัวของผู้ป่วย ซึ่งทุกคนต้องทำหน้าที่ประสานงานควบคู่กันไปเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในทีม 4 คนนี้จะรวมคนที่ทำหน้าที่ขับรถด้วย อย่างคนที่จะมารับหน้าที่ขับรถพยาบาลได้ก็จำเป็นจะต้องเรียนผ่านหลักสูตร Ambulance Driver ก่อนเพราะการขับรถพยาบาลจำเป็นจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการประเมินเส้นทางและวางแผนการเดินทางรับผู้ป่วยจากที่เกิดเหตุเพื่อมาส่งที่โรงพยาบาลโดยใช้เวลาที่น้อยที่สุด”
ชอบทำงานแข่งกับเวลา DNA สำคัญของแพทย์ฉุกเฉิน
ผศ.ดร.นพ.พงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ หรืออาจารย์บอลลูน ที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาแพทย์ในส่วนของเวชศาสตร์ฉุกเฉินพร้อมควบตำแหน่งดูแลหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ด้วยเช่นกัน จากความชอบในการทำงานแข่งกับเวลาทำให้อาจารย์บอลลูนมีเป้าหมายแน่วแน่หลังเรียนจบแพทย์จนตัดสินใจมาเรียนต่อด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินในทันที
“ย้อนกลับไปหลายปีที่แล้วภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินถือเป็นสิ่งใหม่มากในวงการแพทย์ของไทย ผมเองเป็นรุ่นที่ 2 ที่เข้าเรียนสาขานี้หลังจากที่รามาธิบดีเปิดสอน ผมมองว่าจุดร่วมสำคัญของแพทย์ที่ตัดสินใจเรียนต่อด้านเวชศาสต์ฉุกเฉินคือการเป็นคนที่ชอบทำงานแข่งกับเวลา ถนัดในการทำหัตการในเวลาที่จำกัด และต้องเป็นคนที่คิดไวกล้าตัดสินใจในสถานการณ์ที่กดดันและต้องรับมือกับความเครียดได้ดี อีกอย่างที่สำคัญคือการที่เราต้องจัดการอารมณ์ได้ดีเพราะนอกจากความเครียดของการทำงานแล้วการรับมือกับอารมณ์ของผู้ป่วยของญาติก็เป็นสิ่งสำคัญ”
จากหมอฉุกเฉินที่รักในอาชีพสู่บทบาทครูแพทย์
อาจารย์บอลลูนเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของแพทย์ที่มีความรักในอาชีพและก้าวสู่สเต็ปการเป็นอาจารย์แพทย์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวคิดการทำงานให้แก่เหล่านักศึกษาแพทย์และทีมบุคลากรในหน่วยงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ซึ่งแต่ละปีประเทศไทยจะเปิดฝึกอบรมแพทย์สาขาวิชานี้ประมาณ 150 คนต่อปี โดยที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ก็มีการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินปีละประมาณ 14 รายต่อปี
“หากเป็นสมัยก่อนตอนที่ยังไม่มีการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมอส่วนใหญ่ที่มาลงเวรในห้องฉุกเฉินก็จะเป็นหมออายุรกรรม, หมอศัลยกรรม หมอสูตินรีเวชหรือแพทย์ใช้ทุนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นตอนที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินเริ่มพัฒนาหลักสูตรและให้โอกาสผมได้เรียนต่อ รวมทั้งเข้ามาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชานี้ จึงเปรียบเสมือนการสานต่อความฝันทำให้ผมได้ถ่ายทอดแนวคิดการทำงาน การใช้ชีวิตและปลูกฝังการเป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในอนาคต ยิ่งในตอนนี้ที่บุคลากรทางการแพทย์อย่างเราๆ ต้องรับมือกับการดูแลผู้ป่วยโควิดไม่เว้นในแต่ละวัน ผมมองว่าคนเป็นแพทย์เองก็ต้องเข้มแข็งขึ้นเพื่อให้เราสามารถเป็นที่พึ่งให้กับผู้ป่วยได้”
ภารกิจด้านการพัฒนาบริการด้านสุขภาพและการยกระดับการเรียนการสอนของหลักสูตรแพทย์ นับเป็นภารกิจสำคัญที่จะช่วยให้ระบบสาธารณสุขไทยก้าวไกลยิ่งขึ้น ซึ่งรามาธิบดีก็มุ่งหวังที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างมาตรฐานการแพทย์ให้มีคุณภาพในระดับโลกต่อไป สำหรับผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการทำงานของแพทย์ในทุกภารกิจได้ผ่านมูลนิธิรามาธิบดีฯ
#######
#คำว่าให้ไม่สิ้นสุด
Post Top Ad
Tuesday, September 21, 2021
Home
Social
“ทำทุกนาทีให้ดีที่สุด เหมือนเป็นนาทีสุดท้ายของชีวิต” เสียงจากทีมแพทย์ฉุกเฉินที่อุทิศหัวใจให้ผู้ป่วย
“ทำทุกนาทีให้ดีที่สุด เหมือนเป็นนาทีสุดท้ายของชีวิต” เสียงจากทีมแพทย์ฉุกเฉินที่อุทิศหัวใจให้ผู้ป่วย
Tags
# Social
Share This
About The Tellus Post
Social
Tags
Social
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Post Bottom Ad
Author Details
Templatesyard is a blogger resources site is a provider of high quality blogger template with premium looking layout and robust design. The main mission of templatesyard is to provide the best quality blogger templates which are professionally designed and perfectlly seo optimized to deliver best result for your blog.
No comments:
Post a Comment