“ดีป้า” นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ภาคเหนือ ติดความความก้าวหน้าโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในชนบท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตท้องถิ่นอย่างยั่งยืน - The Tellus Post

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, November 10, 2020

“ดีป้า” นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ภาคเหนือ ติดความความก้าวหน้าโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในชนบท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


9-10 พฤศจิกายน 2563, จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน - สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการยกระดับธุรกิจสำหรับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พร้อมประกาศสานต่อแนวคิด ‘ชุมชนคิด ชุมชนเลือก ชุมชนทำ เพื่อชุมชนยั่งยืน’ ผ่านการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มากกว่า 200 ชุมชนทั่วประเทศ

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า
เปิดเผยว่า หนึ่งในภารกิจสำคัญของสำนักงานฯ คือการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกภูมิภาคทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพและผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Provider) ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานฯ เพื่อประยุกต์ใช้ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชนในชนบท (depa Digital Transformation Fund for Community)

โดยคณะผู้บริหาร ดีป้า และสื่อมวลชนได้ติดตามความก้าวหน้า โครงการระบบบริหารจัดการไข่ไก่เพื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ไข่ไก่อารมณ์ดี) โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตเกษตรกรบ้านนาหึก ในอำเภอแม่ริม ที่ประยุกต์ใช้ระบบ ERP ใช้ในการบริหารจัดการและตรวจสอบสถานะไข่ไก่แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนไข่ไก่ที่ลูกค้าต้องการ จำนวนไข่ไก่คงเหลือ ยอดสะสมไข่ไก่ที่ส่งให้กับชุมชน รวมถึงระบบการจัดการรับซื้อและจำหน่ายไข่ไก่ในวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตเกษตรแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาหึก นอกจากนี้ ยังสามารถติดตามและเก็บข้อมูลปริมาณการรับซื้อและกระจายไข่ไก่ขนาดต่าง ๆ ในเชิงสถิติ เพื่อทำการประเมินผลและคาดการณ์ปริมาณและขนาดของไข่ให้สอดคล้องกับการรับซื้อ การเก็บรักษา และการกระจายให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

มาตรการดังกล่าวช่วยให้เกษตรกรในชุมชนสามารถเรียนรู้ เกิดความเข้าใจ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 180,000 บาทต่อปี ขณะเดียวกันยังสามารถลดต้นทุนด้านแรงงานได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี

จากนั้น คณะทำงานได้ติดตามความก้าวหน้า โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Predictive Machine Vision ในขั้นตอนการคัดคุณภาพลำไยอบแห้ง และประมวลผลด้วยวิธีการของ Machine Learning โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลำพูนดีเอสฟู๊ด ในอำเภอเมืองลำพูน ที่นำเทคโนโลยี Predictive Machine Vision มาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการคัดคุณภาพลำไยอบแห้ง และประมวลผลด้วยวิธีการ Machine Learning ร่วมกับงานออกแบบเครื่องจักรในอุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง เพื่อสร้างเครื่องคัดคุณภาพลำไยอบแห้งแบบอัตโนมัติที่สามารถจำแนกคุณภาพและความเสียหายของลำไยอบแห้ง รายงานและวิเคราะห์การคัดคุณภาพจากเครื่องคัดลำไยอบแห้ง รวมถึงติดตาม ตรวจสอบการผลิตของเครื่องคัดลำไยแบบออนไลน์

ทั้งนี้ หจก.ลำพูนดีเอสฟู๊ด สามารถลดต้นทุนด้านแรงงาน เพิ่มกำลังการผลิต คุณภาพ และมูลค่าสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้มากขึ้น อีกทั้งเป็นประโยชนในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดกับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรของประเทศ

“ปี 2563 ดีป้า จะยังคงสานต่อแนวคิด ‘ชุมชนคิด ชุมชนเลือก ชุมชนทำ เพื่อชุมชนยั่งยืน’ ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ และผู้ให้บริการดิจิทัล มากกว่า 200 ชุมชนทั่วประเทศ พร้อมยกระดับชุมชนท้องถิ่นสู่ชุมชนดิจิทัล พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ และสร้างโอกาสทางอาชีพให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages