“คุณหญิงกัลยา” มอบโฆษกและคณะกรรมการ “โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ” ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า วทษ.อุบล หลังร่วมมือ AGS องค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา - The Tellus Post

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, October 13, 2020

“คุณหญิงกัลยา” มอบโฆษกและคณะกรรมการ “โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ” ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า วทษ.อุบล หลังร่วมมือ AGS องค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา

 


“ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบโฆษกและคณะกรรมการ “โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ” ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี หลังร่วมมือสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา (American Groundwater Solution : AGS) เชื่อมโยงนำองค์ความรู้สากลมาปรับใช้กับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง 


นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และโฆษกรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ร่วมกับคณะกรรมการกองทุนการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ที่มีคุณหญิงกัลยาเป็นประธานฯ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อน “โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ” ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี หนึ่งในวิทยาลัยนำร่อง ที่นำโดยนายไตรรงค์ คลังบุญครอง ผู้อำนวยการวิทยาลัย 


พร้อมกันนี้คณะกรรมการโครงการ ผู้แทนของวิทยาลัย และจิตอาสาที่จะเข้ามาช่วยดำเนินการ ได้มีการประชุมแบบ Teleconference เพื่อหารือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศตัวแทนของสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา (American Groundwater Solution : AGS) ในการกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ก่อนการขุดเจาะพื้นที่ในวิทยาลัยเพื่อความแม่นยำ โดยการประสานกับผู้เชี่ยวชาญของไทย ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อนไปเยี่ยมชมโมเดลการเก็บน้ำไว้ใต้ดินของ อบต.ยางขี้นก อ.เขื่อนใน จ.อุบลราชธานี ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการบริหารจัดการน้ำ


ที่มาของโครงการดังกล่าวเกิดจากดำริของ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ที่มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือประเทศชาติในการแก้ปัญหาเรื่อง “น้ำ” และเห็นว่าปีนี้ถือเป็นปีที่ประสบภัยแล้งมากที่สุดในรอบ 40 ปี สถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อทั้งการเกษตรและความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง หากไม่เร่งแก้ปัญหาเรื่องการจัดการน้ำของชุมชนอย่างเป็นระบบ ก็จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหามาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคอีสานซึ่งมีที่ดินนอกเขตชลประทานถึง 80% ที่ต้องได้รับการบริหารจัดการให้สามารถกักเก็บน้ำฝนที่อยู่นอกเขตชลประทานได้ ปัจจุบันในพื้นที่อีสานสามารถกักน้ำฝนไว้ใช้ได้เพียง 3.5% จากปริมาณน้ำฝนโดยรวมซึ่งถือว่าน้อยมาก จึงต้องเร่งแก้ไขและดำเนินการให้ทันก่อนฝนจะหมดในปีนี้ 

หลักคิดในการทำโครงการคือชุมชนต้องมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ โดยรัฐทำหน้าที่สนับสนุนให้องค์ความรู้ และกระทรวงศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของคุณหญิงกัลยา จะใช้กลไกของวิทยาลัยเกษตรทั้ง 47 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษอีก 176 แห่งทั่วประเทศเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญ และจะมีการหลักสูตรสร้างชลกร คือผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ เพื่อช่วยสอนชาวบ้านให้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำในชุมชน ให้สามารถดำเนินการต่อเองได้

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย กล่าวว่า ขอแสดงความชื่นชมทีมผู้เชี่ยวชาญจาก AGS และ มจธ. รวมถึงจิตอาสาอีกหลายท่านที่มาร่วมกันขับเคลื่อนโครงการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมใจกันกันถวายเป็นพระราชกุศล และนับเป็นความสำเร็จไปอีกขั้นในการเชื่อมโยงนำองค์ความรู้ที่เป็นสากลมาปรับใช้กับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และน้ำหลาก ให้กับคนในพื้นที่ ตามนโยบายของคุณหญิงกัลยา

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages