กระทรวงวัฒนธรรม ชวนคนไทยร่วมเทิดไท้องค์ราชินีสมเด็จพระพันปีหลวงผ่านเว็บไซต์ “เรารักแม่” - The Tellus Post

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, August 9, 2021

กระทรวงวัฒนธรรม ชวนคนไทยร่วมเทิดไท้องค์ราชินีสมเด็จพระพันปีหลวงผ่านเว็บไซต์ “เรารักแม่”


กรุงเทพฯ - กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ชวนคนไทยร่วมลงนามถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันแม่แห่งชาติ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ ผ่านเว็บไซต์ www.raorakmae.com หรือ www.เรารักแม่.com พร้อมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน ผ่านโครงการนิทรรศการออนไลน์ “พระเมตตากรุณาของสมเด็จพระพันปีหลวง”


เว็บไซต์ “เรารักแม่”
ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ ซึ่งเป็นพื้นที่ถ่ายทอดเรื่องราวของสมเด็จพระพันปีหลวง ผ่านพระราชประวัติอันงดงามและพระราชกรณียกิจที่เป็นที่จดจำมาอย่างยาวนาน รวมถึงพระอัจริยภาพหลากหลายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทย และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนผู้เข้าชมเว็บไซต์ อาทิ รางวัลพระเกียรติคุณ, ความวิจิตรของฉลองพระองค์ชุดไทยพระราชนิยมที่หาชมได้ยาก และดอกไม้ในพระนามาภิไธยอันทรงคุณค่า ฯลฯ โดยประชาชนสามารถเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และร่วมลงนามถวายพระพรได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

พร้อมกันนี้ เว็บไซต์ “เรารักแม่” ยังเป็นอีกช่องทางส่งเสริมวัฒนธรรมการแสดงความรัก ความผูกพันของแม่-ลูก และสถาบันครอบครัว โดยได้มีการจัดทำบทเพลงอันไพเราะที่ถ่ายทอดความรู้สึกถึง “แม่” จากการประพันธ์ของ “ครูดอย อินทนนท์” นักแต่งเพลงผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินลูกทุ่งและลูกกรุงมากมาย ด้วยบทเพลงที่มีชื่อว่า “พระคุณแม่” ซึ่งเคยถูกขับร้องมาแล้วจากน้ำเสียงต้นฉบับอันก้องกังวาลของ “นกน้อย อุไรพร” ศิลปินนักร้องลูกทุ่งหมอลำชื่อดังทั้งในและต่างประเทศ ในการนี้ ครูดอย อินทนนท์ ได้นำมาดัดแปลงเนื้อร้องและทำนองใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น โดยเนื้อหาของเพลงบอกเล่าเรื่องราวพระคุณของแม่ได้อย่างซาบซึ้งกินใจ เพื่อถ่ายทอดออกมาให้ผู้ฟังเห็นถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่มหาศาลของผู้เป็นแม่ ตั้งแต่แม่เริ่มให้กำเนิด ทะนุถนอม ขับกล่อม เลี้ยงดูด้วยความยากลำบากจนเติบโต

สามารถเยี่ยมชมและลงนามถวายพรได้ที่เว็บไซต์ www.เรารักแม่.com และรับฟังบทเพลง “พระคุณแม่” ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือเฟสบุ๊คเพจ: ศิลปะ ดนตรี กวี วัฒนธรรมไทย

                                                       ####

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages