รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล ผู้อำนวยการศูนย์TICE คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล |
ไหนๆ น้องน้ำก็จะท่วมเมืองหลวงอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า เพราะมีสัญญาณว่าน้ำมาเยือนบ่อย น้ำทะเลก็หนุนสูง มาช่วยกันคิดดีกว่า ว่าทางออกมีอะไรบ้างก่อนที่จะย้ายเมือง นอกจากภาวะโลกรวนจะส่งผลต่อความแปรปรวนต่อภูมิอากาศโลก เช่น ภาวะแล้งจัด อุณหภูมิร้อนจัด หนาวจัด ในหลายส่วนของภูมิภาคโลกแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุสำคัญของฝนที่ตกชุกและหนักต่อเนื่องเป็นเวลานานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง (rainfall intensity) ประเทศไทยก็อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องปรับตัว (climate adaptation) ต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ความแปรปรวน (climate variability) สูงกว่าค่าเฉลี่ยในปีปกติ หน้าฝนชุกมีพายุเข้า เกิดน้ำหลากท่วมจึงมีปัจจัยบางประการที่เป็นข้อสังเกต ดังนี้
1. ถ้าพายุพาฝนมาตกนอกอ่างเก็บน้ำ ก็อาจเกิดน้ำหลากท่วมได้ ถ้าพายุตกในอ่างเก็บน้ำที่รับน้ำมากเกิน จนทางระบายน้ำล้น (spillway) ระบายไม่ทัน เกิดน้ำกัดคันดินแตก จำเป็นต้องวางแผนรองรับน้ำท่วมสูงสุด (max. flood) ที่อาจเกิดขึ้นได้
แม้ขณะก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ รวมทั้งยังต้องช่วยกันรักษาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
2. พื้นที่ซึ่งไม่ได้ท่วมประจำ ก็อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) น้ำป่าไหลหลาก บริเวณที่สูงเชิงเขา เช่นที่ สระบุรี จันทบุรี ฯลฯ การย้ายบ้านจากที่ลุ่มไปอยู่ในที่ดอนกว่า ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด ถ้าย้ายไปอยู่ในที่เชิงเขา
3. พื้นที่ท่วมประจำบริเวณทุ่งน้ำท่วม (inundation flood) ชาวบ้านทราบดีว่าถ้าน้ำมาจะเตรียมอย่างไร ปรับตัวกันมาตั้งแต่โบราณกาล เช่น พื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา ได้แก่ ทุ่งบางระกำ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งรังสิตใต้ พื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ ทุ่งบางบาล-บ้านแพน ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งโพธิ์พระยา ทุ่งพระยาบรรลือ เป็นต้น แต่เราคงไม่ปล่อยให้การปรับตัวของชาวบ้านเป็นไปเองโดยธรรมชาติอย่างนี้ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปว่าควรจะทำอย่างไร
4. พื้นที่ท่วมประจำนอกคันกั้นน้ำ แม้ว่าบางปีที่หนักมากๆ พื้นที่ในคันกั้นน้ำก็เคยท่วม และพื้นที่น้ำท่วมใกล้ทางน้ำไหล น้ำล้นตลิ่งเข้ามาท่วมได้ทุกเวลา ยังมีพื้นที่ใกล้คันกั้นน้ำ ที่คันแตกเพราะน้องน้ำมามากเกิน คันดินเก่าไม่แข็งแรง
5. การบริหารจัดการระบายน้ำ หรือการจราจรน้ำให้ระบายออกสู่พื้นที่ปลอดภัย (maximise drain out) เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยที่สุด (minimise loss) ยังทำได้ไม่ดีพอ เรามี AI ช่วยในเรื่องนี้มากว่า 10 ปีแล้ว ปัจจัยสำคัญคือ อัตราการไหลของน้ำที่ต้องการระบาย กับ ความจุของทางระบายน้ำในทางน้ำเปิด
ข้อดีของพื้นที่ถูกน้ำท่วมปีนี้มีบ้างมั้ย ก็มี
1. Uncertainty น้ำบอกเราเสมอว่า ปีที่ผ่าน ๆ มาบ้านเราไม่ท่วม แต่ปีต่อๆไป ไม่แน่นะ ชุมชนต้องเตรียมแผนรองรับไว้ให้ดี ถ้าเกิดน้ำท่วมเราจะทำอะไรบ้างและทำอย่างไร ตอนนี้เรามีการขอจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำทั้งหลักและรอง ตาม พ.ร.บ.น้ำใหม่ เราจะใช้กลไกนี้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อลุ่มน้ำของเราให้มากที่สุด
2. Climate Action ในเขตพื้นที่รับน้ำหลาก ต้องเตรียมการระบายน้ำไว้ให้พอดีกับความเข้มของฝนที่ตกหนักสูงสุดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งต้องการการออกแบบใหม่ (redesign) ตาม Climate Action ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่งการวางโครงการบรรเทาน้ำท่วม (flood mitigation plan) นั้นพร้อมแล้ว ทั้งคลองระบายน้ำหลาก และคลองควบคู่กับถนน แต่ติดเรื่องงบประมาณและการเวนคืนที่ดิน ยังมีทางเลือกอื่น เช่น ทำทางระบายน้ำขนาดเล็กหลายเส้นทางขนานต่อๆ กันลงทะเล
3. Artificial Ponds น้ำท่วมทำให้เรานึกถึงการทำแก้มลิงประดิษฐ์ น่าจะมีหน่วยการบริหารจัดการทุ่งน้ำท่วมแก้มลิงธรรมชาติกับแก้มลิงประดิษฐ์แบบรัฐร่วมกับประชาชน/เอกชน ขึ้นหรือไม่ เพราะอย่างไรเราก็ต้องเสียค่าชดเชยให้พื้นที่น้ำท่วมนี้ทุกครั้ง การบริหารจัดการแก้มลิงปีน้ำน้อยกับปีน้ำมากจะบริหารจัดการกันคนละแบบ ควรเปิดให้ภาคเอกชน ประชาชน เปิดแนวคิดแบบ advance มาลงทุนร่วมกัน
4. Redesign น้ำบอกเราว่าตรงนี้ที่ลุ่ม ไม่ควรมาตั้งบ้านเรือน หากจะตั้งก็ต้องหนีน้ำให้ทัน อาจต้องยกพื้นสูง อาจต้องออกแบบบ้านลอยน้ำได้ มีงานวิจัยแล้ว เรื่องออกแบบโครงสร้างบ้านที่อยู่กับน้ำและเผชิญกับน้ำหลาก น้ำมาชี้เป้าแล้วว่า ให้ระมัดระวังจุดไหนบ้าง คันที่แตกคือจุดอ่อน ตลิ่งที่ล้นไปตรงนี้ตรงนั้น คือที่จุดที่ต่ำของทางน้ำนี้ น้ำมาบอกแล้วว่า ให้เตรียมการให้ดีกว่านี้ หน่วยงานพื้นที่เร่งเข้าไปปรับแก้ให้ทันเหตุการณ์
5. Public Health น้ำท่วมขังยังก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุข ลูกน้ำยุงลาย โรคที่มากับน้ำ น้ำกัดเท้า ภัยที่มากับน้ำเช่น ไฟฟ้าดูด น้ำยังชี้ว่าตรงนี้ไม่ควรสร้างส้วม ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ปีน้ำมากเกิดน้ำท่วมขัง เกิดปัญหาสาธารณสุขตามมาได้
6. Websites 10 ปีผ่านไป เราได้บทเรียนจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เรามี กอนช. เรามี สทนช. (onwr.go.th) เราควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น เรามีการพยากรณ์และเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ยกเว้นสถานการณ์ซึ่งเกินความคาดหมาย สุดวิสัยจริงๆ เช่น เขื่อนแตก
7. Stop Fake News เรามีนักวิชาการมากมายที่มีความรู้ ออกมาให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา สร้างความตระหนักรู้ ซึ่งไม่ควรตระหนก เราสามารถติดตามสถานการณ์ได้จาก คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ thaiwater.net กรมอุตุนิยมวิทยา tmd.go.th กรมชลประทาน rid.go.th กรมทรัพยากรน้ำ dwr.go.th ซึ่งมีข้อมูลหลากหลาย ทั้งแสดงเส้นทางพายุ แผนที่อากาศ สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ที่ทันสมัย และกรมอุทกศาสตร์ hydro.navy.mi.th อีก เราจึงไม่ควรฟัง Fake News
8. Applications สองปีที่ผ่านมาเรามีประสบการณ์นัดรับวัคซีน จ่ายค่ายา นี่นั่นโน่น ผ่านมือถือ เราต้องพัฒนาต่อยอดให้มีการเตือนภัยผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นข้อความมือถือให้บ้านในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เราสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการส่งข่าว ภาพ เสียง คลิปได้ในกลุ่ม นอกเหนือจากเสียงตามสายในหมู่บ้านบ้างดีมั้ย
แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาวจะทำอย่างไรให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ ภายใต้สถานการณ์จำกัดหลายด้านทั้งงบประมาณ การเวนคืนที่ดิน บทความนี้อาจเสนอที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (practicability) ดังนี้
1. ถ้ากล่าวถึง Technology Disruption แนวคิดเรื่องเมืองฟองน้ำจะใช้ได้ดีกับพื้นที่ซึ่งไม่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำและมีระดับน้ำใต้ดินสูงอยู่เดิมแล้ว มีทั้งแก้มลิงธรรมชาติ และแก้มลิงประดิษฐ์ น่าจะมีหน่วยงานการจัดการอะไรใหม่ขึ้นมาดูแลการจัดการน้ำในแก้มลิงเหล่านี้มั้ย โดยมีมาตรการทางเศรษฐศาสตร์/การคลัง ผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำหรือกรรมการทุ่งน้ำ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมีอนุบัญญัติและการประยุกต์มาตรการทางภาษี เข้ามาช่วยให้เป็นจริงได้
แนวคิดเรื่องเขื่อนปิดกั้นปากอ่าวแบบเนเธอร์แลนด์ป้องกันน้ำทะเลหนุน น่าจะใช้ได้ดีกับพื้นที่ภูมิประเทศเมืองหนาวที่มีแต่ป่าสน (Pine Forest) แต่ระบบนิเวศปากแม่น้ำเป็นป่าชายเลนเขตร้อนชื้น (mangrove forest) แบบบ้านเราซึ่งกิจกรรมการพึ่งพาระบบนิเวศนั้นซับซ้อนเกินกว่าการทำงานของบานประตูที่มีระบบ Mechanic และ Hydraulic Engineering จะทำได้ เรามีบทเรียนจากแพรกหนามแดง และบานประตูชายฝั่งทะเลที่สร้างขึ้นมามากแล้ว
2. เรื่องราวระหว่างกระทรวงที่จัดสรรงบประมาณกันแบบเดิม ยังไม่อาจแก้ปัญหาได้จริง เราจะทำอย่างไรให้วิศวกรกรมทางฯ คุยกับวิศวกรกรมชลฯ แล้วออกมาเป็นแผนปฏิบัติการร่วมกันในการออกแบบระบบเส้นทางระบายน้ำร่วมกัน ตามการจัดสรรและการตั้งงบประมาณแบบเดิมแบบต่างคนต่างทำได้ เพราะต่างกรมก็ต่างมี พ.ร.บ.ตามกฎหมายที่จะดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ เราจะทำอย่างไรให้กรมที่ดูแลป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ทำงานสัมพันธ์กันกับกรมที่ดูแลเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เราต้องมีตัวชี้วัดการทำงานระหว่างกระทรวงหรือไม่ ตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
3. แนวคิดเรื่องคันกั้นน้ำซึ่งก็คือทางระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก มีข้อถกเถียงว่าจะดูแข็งและไม่เป็นธรรมชาติ เราจะออกแบบให้สอดรับกับภูมิสถาปัตย์ของบ้านเราให้ดูเจริญหูเจริญตา เหมือนคลองต่างๆ ที่สวยงามมากขึ้นในปัจจุบันได้หรือไม่ เราคงต้องฟังเสียงกันและกัน เพราะ “บ้านเมืองเรา เราต้องรักษา” และเราต้องพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม แต่อย่าให้เนิ่นนาน ความล่าช้าจะเสียหายต่อส่วนรวมได้ การคิดแบบนักอนุรักษ์ (conservationist) คือใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนกับแนวคิดแบบเก็บทุกอย่างไว้ (preservationist) โดยไม่ใช้อะไรเลย นั้นแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งขอให้ตั้งสติว่าเราต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
การตัดสินใจดำเนินการโครงการใดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้น จะมีทั้งผู้เห็นด้วยและเห็นต่างอยู่แล้ว แต่ผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องตัดสินใจดำเนินการเพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของส่วนรวม อีกสองเดือนข้างหน้า หน้าแล้งจะมาเยือน สถานการณ์จะกลายเป็นอีกเรื่องนึง น้ำบางอ่างเก็บน้ำวันนี้มีเพียง 50% แต่น้ำบางอ่างเก็บน้ำที่มีมากพอ ก็จะได้ใช้ให้สมประโยชน์ เพราะหัวใจหลักคือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพลเมืองของเรา ของประเทศชาติที่เรารักและหวงแหน
รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล
ผู้อำนวยการศูนย์TICE คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล
2. พื้นที่ซึ่งไม่ได้ท่วมประจำ ก็อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) น้ำป่าไหลหลาก บริเวณที่สูงเชิงเขา เช่นที่ สระบุรี จันทบุรี ฯลฯ การย้ายบ้านจากที่ลุ่มไปอยู่ในที่ดอนกว่า ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด ถ้าย้ายไปอยู่ในที่เชิงเขา
3. พื้นที่ท่วมประจำบริเวณทุ่งน้ำท่วม (inundation flood) ชาวบ้านทราบดีว่าถ้าน้ำมาจะเตรียมอย่างไร ปรับตัวกันมาตั้งแต่โบราณกาล เช่น พื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา ได้แก่ ทุ่งบางระกำ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งรังสิตใต้ พื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ ทุ่งบางบาล-บ้านแพน ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งโพธิ์พระยา ทุ่งพระยาบรรลือ เป็นต้น แต่เราคงไม่ปล่อยให้การปรับตัวของชาวบ้านเป็นไปเองโดยธรรมชาติอย่างนี้ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปว่าควรจะทำอย่างไร
4. พื้นที่ท่วมประจำนอกคันกั้นน้ำ แม้ว่าบางปีที่หนักมากๆ พื้นที่ในคันกั้นน้ำก็เคยท่วม และพื้นที่น้ำท่วมใกล้ทางน้ำไหล น้ำล้นตลิ่งเข้ามาท่วมได้ทุกเวลา ยังมีพื้นที่ใกล้คันกั้นน้ำ ที่คันแตกเพราะน้องน้ำมามากเกิน คันดินเก่าไม่แข็งแรง
5. การบริหารจัดการระบายน้ำ หรือการจราจรน้ำให้ระบายออกสู่พื้นที่ปลอดภัย (maximise drain out) เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยที่สุด (minimise loss) ยังทำได้ไม่ดีพอ เรามี AI ช่วยในเรื่องนี้มากว่า 10 ปีแล้ว ปัจจัยสำคัญคือ อัตราการไหลของน้ำที่ต้องการระบาย กับ ความจุของทางระบายน้ำในทางน้ำเปิด
ข้อดีของพื้นที่ถูกน้ำท่วมปีนี้มีบ้างมั้ย ก็มี
1. Uncertainty น้ำบอกเราเสมอว่า ปีที่ผ่าน ๆ มาบ้านเราไม่ท่วม แต่ปีต่อๆไป ไม่แน่นะ ชุมชนต้องเตรียมแผนรองรับไว้ให้ดี ถ้าเกิดน้ำท่วมเราจะทำอะไรบ้างและทำอย่างไร ตอนนี้เรามีการขอจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำทั้งหลักและรอง ตาม พ.ร.บ.น้ำใหม่ เราจะใช้กลไกนี้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อลุ่มน้ำของเราให้มากที่สุด
2. Climate Action ในเขตพื้นที่รับน้ำหลาก ต้องเตรียมการระบายน้ำไว้ให้พอดีกับความเข้มของฝนที่ตกหนักสูงสุดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งต้องการการออกแบบใหม่ (redesign) ตาม Climate Action ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่งการวางโครงการบรรเทาน้ำท่วม (flood mitigation plan) นั้นพร้อมแล้ว ทั้งคลองระบายน้ำหลาก และคลองควบคู่กับถนน แต่ติดเรื่องงบประมาณและการเวนคืนที่ดิน ยังมีทางเลือกอื่น เช่น ทำทางระบายน้ำขนาดเล็กหลายเส้นทางขนานต่อๆ กันลงทะเล
3. Artificial Ponds น้ำท่วมทำให้เรานึกถึงการทำแก้มลิงประดิษฐ์ น่าจะมีหน่วยการบริหารจัดการทุ่งน้ำท่วมแก้มลิงธรรมชาติกับแก้มลิงประดิษฐ์แบบรัฐร่วมกับประชาชน/เอกชน ขึ้นหรือไม่ เพราะอย่างไรเราก็ต้องเสียค่าชดเชยให้พื้นที่น้ำท่วมนี้ทุกครั้ง การบริหารจัดการแก้มลิงปีน้ำน้อยกับปีน้ำมากจะบริหารจัดการกันคนละแบบ ควรเปิดให้ภาคเอกชน ประชาชน เปิดแนวคิดแบบ advance มาลงทุนร่วมกัน
4. Redesign น้ำบอกเราว่าตรงนี้ที่ลุ่ม ไม่ควรมาตั้งบ้านเรือน หากจะตั้งก็ต้องหนีน้ำให้ทัน อาจต้องยกพื้นสูง อาจต้องออกแบบบ้านลอยน้ำได้ มีงานวิจัยแล้ว เรื่องออกแบบโครงสร้างบ้านที่อยู่กับน้ำและเผชิญกับน้ำหลาก น้ำมาชี้เป้าแล้วว่า ให้ระมัดระวังจุดไหนบ้าง คันที่แตกคือจุดอ่อน ตลิ่งที่ล้นไปตรงนี้ตรงนั้น คือที่จุดที่ต่ำของทางน้ำนี้ น้ำมาบอกแล้วว่า ให้เตรียมการให้ดีกว่านี้ หน่วยงานพื้นที่เร่งเข้าไปปรับแก้ให้ทันเหตุการณ์
5. Public Health น้ำท่วมขังยังก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุข ลูกน้ำยุงลาย โรคที่มากับน้ำ น้ำกัดเท้า ภัยที่มากับน้ำเช่น ไฟฟ้าดูด น้ำยังชี้ว่าตรงนี้ไม่ควรสร้างส้วม ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ปีน้ำมากเกิดน้ำท่วมขัง เกิดปัญหาสาธารณสุขตามมาได้
6. Websites 10 ปีผ่านไป เราได้บทเรียนจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เรามี กอนช. เรามี สทนช. (onwr.go.th) เราควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น เรามีการพยากรณ์และเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ยกเว้นสถานการณ์ซึ่งเกินความคาดหมาย สุดวิสัยจริงๆ เช่น เขื่อนแตก
7. Stop Fake News เรามีนักวิชาการมากมายที่มีความรู้ ออกมาให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา สร้างความตระหนักรู้ ซึ่งไม่ควรตระหนก เราสามารถติดตามสถานการณ์ได้จาก คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ thaiwater.net กรมอุตุนิยมวิทยา tmd.go.th กรมชลประทาน rid.go.th กรมทรัพยากรน้ำ dwr.go.th ซึ่งมีข้อมูลหลากหลาย ทั้งแสดงเส้นทางพายุ แผนที่อากาศ สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ที่ทันสมัย และกรมอุทกศาสตร์ hydro.navy.mi.th อีก เราจึงไม่ควรฟัง Fake News
8. Applications สองปีที่ผ่านมาเรามีประสบการณ์นัดรับวัคซีน จ่ายค่ายา นี่นั่นโน่น ผ่านมือถือ เราต้องพัฒนาต่อยอดให้มีการเตือนภัยผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นข้อความมือถือให้บ้านในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เราสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการส่งข่าว ภาพ เสียง คลิปได้ในกลุ่ม นอกเหนือจากเสียงตามสายในหมู่บ้านบ้างดีมั้ย
แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาวจะทำอย่างไรให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ ภายใต้สถานการณ์จำกัดหลายด้านทั้งงบประมาณ การเวนคืนที่ดิน บทความนี้อาจเสนอที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (practicability) ดังนี้
1. ถ้ากล่าวถึง Technology Disruption แนวคิดเรื่องเมืองฟองน้ำจะใช้ได้ดีกับพื้นที่ซึ่งไม่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำและมีระดับน้ำใต้ดินสูงอยู่เดิมแล้ว มีทั้งแก้มลิงธรรมชาติ และแก้มลิงประดิษฐ์ น่าจะมีหน่วยงานการจัดการอะไรใหม่ขึ้นมาดูแลการจัดการน้ำในแก้มลิงเหล่านี้มั้ย โดยมีมาตรการทางเศรษฐศาสตร์/การคลัง ผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำหรือกรรมการทุ่งน้ำ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมีอนุบัญญัติและการประยุกต์มาตรการทางภาษี เข้ามาช่วยให้เป็นจริงได้
แนวคิดเรื่องเขื่อนปิดกั้นปากอ่าวแบบเนเธอร์แลนด์ป้องกันน้ำทะเลหนุน น่าจะใช้ได้ดีกับพื้นที่ภูมิประเทศเมืองหนาวที่มีแต่ป่าสน (Pine Forest) แต่ระบบนิเวศปากแม่น้ำเป็นป่าชายเลนเขตร้อนชื้น (mangrove forest) แบบบ้านเราซึ่งกิจกรรมการพึ่งพาระบบนิเวศนั้นซับซ้อนเกินกว่าการทำงานของบานประตูที่มีระบบ Mechanic และ Hydraulic Engineering จะทำได้ เรามีบทเรียนจากแพรกหนามแดง และบานประตูชายฝั่งทะเลที่สร้างขึ้นมามากแล้ว
2. เรื่องราวระหว่างกระทรวงที่จัดสรรงบประมาณกันแบบเดิม ยังไม่อาจแก้ปัญหาได้จริง เราจะทำอย่างไรให้วิศวกรกรมทางฯ คุยกับวิศวกรกรมชลฯ แล้วออกมาเป็นแผนปฏิบัติการร่วมกันในการออกแบบระบบเส้นทางระบายน้ำร่วมกัน ตามการจัดสรรและการตั้งงบประมาณแบบเดิมแบบต่างคนต่างทำได้ เพราะต่างกรมก็ต่างมี พ.ร.บ.ตามกฎหมายที่จะดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ เราจะทำอย่างไรให้กรมที่ดูแลป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ทำงานสัมพันธ์กันกับกรมที่ดูแลเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เราต้องมีตัวชี้วัดการทำงานระหว่างกระทรวงหรือไม่ ตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
3. แนวคิดเรื่องคันกั้นน้ำซึ่งก็คือทางระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก มีข้อถกเถียงว่าจะดูแข็งและไม่เป็นธรรมชาติ เราจะออกแบบให้สอดรับกับภูมิสถาปัตย์ของบ้านเราให้ดูเจริญหูเจริญตา เหมือนคลองต่างๆ ที่สวยงามมากขึ้นในปัจจุบันได้หรือไม่ เราคงต้องฟังเสียงกันและกัน เพราะ “บ้านเมืองเรา เราต้องรักษา” และเราต้องพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม แต่อย่าให้เนิ่นนาน ความล่าช้าจะเสียหายต่อส่วนรวมได้ การคิดแบบนักอนุรักษ์ (conservationist) คือใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนกับแนวคิดแบบเก็บทุกอย่างไว้ (preservationist) โดยไม่ใช้อะไรเลย นั้นแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งขอให้ตั้งสติว่าเราต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
การตัดสินใจดำเนินการโครงการใดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้น จะมีทั้งผู้เห็นด้วยและเห็นต่างอยู่แล้ว แต่ผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องตัดสินใจดำเนินการเพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของส่วนรวม อีกสองเดือนข้างหน้า หน้าแล้งจะมาเยือน สถานการณ์จะกลายเป็นอีกเรื่องนึง น้ำบางอ่างเก็บน้ำวันนี้มีเพียง 50% แต่น้ำบางอ่างเก็บน้ำที่มีมากพอ ก็จะได้ใช้ให้สมประโยชน์ เพราะหัวใจหลักคือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพลเมืองของเรา ของประเทศชาติที่เรารักและหวงแหน
รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล
ผู้อำนวยการศูนย์TICE คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล
No comments:
Post a Comment