3 รัฐมนตรี ศธ. ผนึกกำลังขับเคลื่อนการศึกษาพิเศษ เร่งเดินหน้าสร้างโอกาสทางการศึกษาเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ภายใต้แนวทาง “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” พร้อมเตรียมแถลงผลงาน วันที่ 27 ต.ค. นี้ - The Tellus Post

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, October 20, 2021

3 รัฐมนตรี ศธ. ผนึกกำลังขับเคลื่อนการศึกษาพิเศษ เร่งเดินหน้าสร้างโอกาสทางการศึกษาเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ภายใต้แนวทาง “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” พร้อมเตรียมแถลงผลงาน วันที่ 27 ต.ค. นี้


(กระทรวงศึกษาธิการ) – ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ฝ่ายการเมือง) และโฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) เผยกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการศึกษาพิเศษ ยกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของชาติ โดย 3 รัฐมนตรี นำโดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการฯ ร่วมผนึกกำลังพร้อมขับเคลื่อนตามนโยบายเร่งด่วน เตรียมแถลงผลงาน การสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส 4 ภารกิจหลัก ภายใต้แนวทาง “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” วันที่ 27 ต.ค. 64 นี้

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย กล่าวว่า การศึกษาพิเศษถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาติ เพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยเพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนมีคุณภาพ ซึ่งการจะขับเคลื่อนการศึกษาพิเศษให้บรรลุถึงเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่จะให้คนพิการและเด็กด้อยโอกาส เข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึงและมีคุณภาพนั้น จำเป็นจะต้องประสานและอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจของทุกภาคส่วน

กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการการะรทรวงศึกษาธิการ และดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาพิเศษ และมีนโยบายการเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จะเห็นได้จากนโยบายที่แต่ละท่านมอบให้กับหน่วยงานในกำกับ ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน หรือความเป็นอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เด็กพิเศษทุกคน สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ โดยตลอดระยะเวลา 4 เดือน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาดำรงตำแหน่งได้ขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาพิเศษอ ภายใต้ภารกิจ Quick Win 4 ซึ่งจะแถลงภารกิจในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส ภายใต้แนวคิด “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” ในวันที่ 27 ตุลาคม นี้

ด้านนางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีวิสัยทัศน์ในการให้คนพิการและเด็กด้อยโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึงและมีคุณภาพ ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้พันธกิจ 5 ประการที่สำคัญคือ 1.เสริมสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เสมอภาค ด้วยวิธีการและรูปแบบที่หลากหลาย 2.พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ 3.พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพและศาสตร์เฉพาะทาง 4.พัฒนาระบบสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และ5.พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ที่ผ่านมาสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้รับมอบและขับเคลื่อนนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส เรื่องของการพัฒนาคุณภาพ เรื่องของความปลอดภัย ซึ่งได้นำนโยบายที่ได้รับมอบมาสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยในวันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 – 10.30 น. ณ หอประชุมคุรุสภา จะมีการแถลงผลงานการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส 4 ภารกิจหลัก ภายใต้แนวทาง “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” นำโดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พร้อมด้วย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะกำกับนโยบายสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ และดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะกำกับนโยบายสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รวมถึงภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะมาร่วมกันพัฒนาการศึกษาพิเศษให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อน และมีเป้าหมายที่สำคัญคือสร้างอนาคตให้เด็กทุกคน

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages