รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร. กัลยา โสภณพนิช เคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ เต็มสูบ รุกขยายผลเข้าสู่ชุมชน หลังผลิตชลกรรุ่นแรกประสบความสำเร็จ เร่งเดินหน้าจับมือนักวิชาการและปราชญ์ชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ถือเป็น 1 ในนโยบายหลักในการวางรากฐานการศึกษาไทย ของคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ที่ขับเคลื่อนโครงการฯ เคลื่อนผ่านกลไกของอาชีวะเกษตร โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จะเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรทางการเกษตรที่พร้อมจะพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในอนาคต
ทั้งนี้หลังจากเปิดตัวมา 2 ปี ปัจจุบันโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ได้ดำเนินการคู่ขนานไปใน 2 ส่วนอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ 1.ด้านการเรียนการสอน โดยจัดทำหลักสูตรชลกร ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนเรื่องการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ระดับ ปวส. ซึ่งขณะนี้เปิดการเรียนการสอนเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว พร้อมกับหลักสูตรระยะสั้นสำหรับบุคคลทั่วไป หรือหน่วยงานองค์กรที่สนใจก็สามารถเข้ามาเรียนได้
และส่วนที่ 2 ถือเป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน คือ ด้านการสำรวจ ก่อสร้าง ขยายผล โดยได้ดำเนินการไปในพื้นที่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม โดยที่ผ่านมาได้มีการลงสำรวจพื้นที่ ก่อสร้าง และให้องค์ความรู้กับชุมชนไปแล้วหลายจังหวัด อาทิ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม สระแก้ว สุโขทัย พังงา สงขลา ซึ่งชุมชนหลายพื้นที่ได้นำเอาความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำไปใช้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้อยู่ระหว่างการขยายผลไปในวิทยาลัยฯ อื่นๆ ที่มีศักยภาพทั้งเรื่องความพร้อมของบุคลากรและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ อาทิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ซึ่งได้มีการขุดเจาะและเก็บตัวอย่างดิน และการลงพื้นที่ร่วมมือชุมชนวัดคำโป้งเป้ง จังหวัดหนองคายจัดการเรื่องธนาคารน้ำใต้ดิน
นางดรุณวรรณ กล่าวต่อว่า หลังผลิตชลกรประสบความสำเร็จแล้ว โครงการบริหารจัดการน้ำฯ จะรุกขยายผลสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยจะจับมือกับนักวิชาการ และปราชญ์ชุมชนในท้องถิ่นขับเคลื่อนให้เกิดโมเดลด้านการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ เกิดขึ้นได้จริง ถ้าผู้นำชุมชน เข้าใจปัญหา เห็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน อย่างเช่น ผู้ใหญ่วิจิตร นนทภา ผู้ใหญ่บ้านขี้เหล็กเขียว ไพรวัลย์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรชลกร และนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในหมู่บ้าน สร้างแกนนำชุมชนเข้มแข็ง ส่งผลให้หมู่บ้านขี้เหล็กเขียวไพรวัลย์ กลายเป็นหนึ่งในชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ไร้ปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ปลอดโรคไข้เลือดออก มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เพราะมีน้ำเพียงพอ โดยได้มีการนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำมาใช้ เช่น การทำทางระบายน้ำในแต่ละครัวเรือน การวางระบบน้ำใต้ดินภายในหมู่บ้าน เป็นต้น ถือเป็นการสร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะทำแบบนี้ภายใต้บริบทของแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายจะนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำขยายผลสู่ทุกชุมชนทั่วประเทศให้ครอบคลุมได้มากที่สุด
"คุณหญิงกัลยา ทำหน้าที่มา 3 ปี ก้าวสู่ปีที่ 4 ได้กำชับทุกฝ่ายให้เร่งทำงานเพื่อให้งานตามนโยบายขับเคลื่อนและเห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด โครงการบริหารจัดการน้ำฯ เป็นหนึ่งในนโยบายที่ได้เดินหน้ารุกขยายผลเข้าสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผลิตชลกรรุ่นแรกประสบความสำเร็จ ทำให้มีโมเดลด้านการบริหารจัดการน้ำต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ และเกิดขึ้นได้จริงแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้การทำงานของคุณหญิงกัลยาทุกนโยบายต้องทำได้จริง" นางดรุณวรรณ กล่าว
ทั้งนี้หลังจากเปิดตัวมา 2 ปี ปัจจุบันโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ได้ดำเนินการคู่ขนานไปใน 2 ส่วนอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ 1.ด้านการเรียนการสอน โดยจัดทำหลักสูตรชลกร ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนเรื่องการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ระดับ ปวส. ซึ่งขณะนี้เปิดการเรียนการสอนเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว พร้อมกับหลักสูตรระยะสั้นสำหรับบุคคลทั่วไป หรือหน่วยงานองค์กรที่สนใจก็สามารถเข้ามาเรียนได้
และส่วนที่ 2 ถือเป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน คือ ด้านการสำรวจ ก่อสร้าง ขยายผล โดยได้ดำเนินการไปในพื้นที่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม โดยที่ผ่านมาได้มีการลงสำรวจพื้นที่ ก่อสร้าง และให้องค์ความรู้กับชุมชนไปแล้วหลายจังหวัด อาทิ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม สระแก้ว สุโขทัย พังงา สงขลา ซึ่งชุมชนหลายพื้นที่ได้นำเอาความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำไปใช้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้อยู่ระหว่างการขยายผลไปในวิทยาลัยฯ อื่นๆ ที่มีศักยภาพทั้งเรื่องความพร้อมของบุคลากรและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ อาทิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ซึ่งได้มีการขุดเจาะและเก็บตัวอย่างดิน และการลงพื้นที่ร่วมมือชุมชนวัดคำโป้งเป้ง จังหวัดหนองคายจัดการเรื่องธนาคารน้ำใต้ดิน
นางดรุณวรรณ กล่าวต่อว่า หลังผลิตชลกรประสบความสำเร็จแล้ว โครงการบริหารจัดการน้ำฯ จะรุกขยายผลสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยจะจับมือกับนักวิชาการ และปราชญ์ชุมชนในท้องถิ่นขับเคลื่อนให้เกิดโมเดลด้านการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ เกิดขึ้นได้จริง ถ้าผู้นำชุมชน เข้าใจปัญหา เห็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน อย่างเช่น ผู้ใหญ่วิจิตร นนทภา ผู้ใหญ่บ้านขี้เหล็กเขียว ไพรวัลย์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรชลกร และนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในหมู่บ้าน สร้างแกนนำชุมชนเข้มแข็ง ส่งผลให้หมู่บ้านขี้เหล็กเขียวไพรวัลย์ กลายเป็นหนึ่งในชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ไร้ปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ปลอดโรคไข้เลือดออก มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เพราะมีน้ำเพียงพอ โดยได้มีการนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำมาใช้ เช่น การทำทางระบายน้ำในแต่ละครัวเรือน การวางระบบน้ำใต้ดินภายในหมู่บ้าน เป็นต้น ถือเป็นการสร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะทำแบบนี้ภายใต้บริบทของแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายจะนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำขยายผลสู่ทุกชุมชนทั่วประเทศให้ครอบคลุมได้มากที่สุด
"คุณหญิงกัลยา ทำหน้าที่มา 3 ปี ก้าวสู่ปีที่ 4 ได้กำชับทุกฝ่ายให้เร่งทำงานเพื่อให้งานตามนโยบายขับเคลื่อนและเห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด โครงการบริหารจัดการน้ำฯ เป็นหนึ่งในนโยบายที่ได้เดินหน้ารุกขยายผลเข้าสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผลิตชลกรรุ่นแรกประสบความสำเร็จ ทำให้มีโมเดลด้านการบริหารจัดการน้ำต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ และเกิดขึ้นได้จริงแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้การทำงานของคุณหญิงกัลยาทุกนโยบายต้องทำได้จริง" นางดรุณวรรณ กล่าว
ที่มา: https://upressrelease.cuvw.xyz/2022/08/blog-post_29.html (ดูรายละเอียดและภาพประกอบเพิ่มเติม)
No comments:
Post a Comment