นายกฤษดา สาธุกิจชัย Founder บริษัท เนทติเซนท์ จำกัด (Netizen) เผยว่า เนทติเซนท์ เติบโตขึ้นมาด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการยกระดับระบบไอที ให้กับองค์ธุรกิจชั้นนำของประเทศ ด้วยการใช้ความรู้ความสามารถจากตำแหน่ง ‘บริษัทที่ปรึกษาของซอฟต์แวร์ SAP ประเทศเยอรมนี’ มาผสานเข้ากับกระบวนการดำเนินธุรกิจ ที่ครอบคลุมขั้นตอนการบริหารงานในทุกโซลูชั่น และสามารถประยุกต์ให้ตอบโจทย์กับทุกอุตสาหกรรมไทย โดยบริการที่เนทติเซนท์เชี่ยวชาญ มีตั้งแต่ให้คำปรึกษาด้านการนำซอฟต์แวร์ไป Apply ให้ตอบโจทย์องค์กร, การเป็นผู้พัฒนาโซลูชั่นที่ดีที่สุดและตรงตามรูปแบบธุรกิจของลูกค้า และเป็นผู้วางโครงสร้างของระบบ หรือ ‘Infrastructure’ ตั้งแต่รูปแบบของ Network, System, Backup Solution ไปจนถึง Security
“เนทติเซนท์ ทุ่มเทเวลากว่า 20 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ไปกับการนำเสนอบริการ ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างดีที่สุด เช่น การจัดการบริการระบบสำคัญอย่าง ERP ที่มีความซับซ้อนและข้อมูลจำนวนมากให้เป็นไปได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพื่อช่วยลดระยะเวลา, ลดการใช้ทรัพยากร, ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านไอที และช่วยรองรับการเพิ่มสเกลของระบบ รับกับการเติบโตขององค์ได้ในทันที รวมไปถึงการมี Data Center ในประเทศไทย เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล สามารถบริหารจัดการในภาวะวิกฤตได้แบบไร้รอยต่อ ที่สำคัญ บริษัทยังได้ร่วมมือกับ ‘หัวเว่ย คลาวด์’ ในการนำเทคโนโลยี Infrastructure มาผสานกับการให้บริการโซลูชั่นคลาวด์ สำหรับองค์กรที่ใช้ซอฟต์แวร์ SAP เพื่อนำไปสู่การเป็น Digital Enterprise พร้อมเติบโตร่วมกันกับลูกค้าในฐานะ Business Partner อย่างแท้จริง”
การร่วมมือกันระหว่าง เนทติเซนท์ และ หัวเว่ย คลาวด์ จะเกิดขึ้นในฐานะ “Strategic Partner” ภายใต้การ Drive Business ขององค์กรชั้นนำด้วย “netizen.cloud” เพื่อยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลบน Cloud Platform ที่ดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ SAP และ ERP ซึ่งการยกระดับครั้งนี้จะเกิดขึ้นบนโซลูชั่น SAP S/4HANA เวอร์ชัน Netizen Peony รูปแบบ On Cloud ที่จะทำให้การรับ-ส่งข้อมูล รวมถึงการย้ายฐานข้อมูลของระบบ ERP ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น พร้อมช่วยให้กลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้งาน “netizen.cloud” เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม Healthcare, Manufacturing, Edutech และ Transportation มีการบริหารค่าใช้จ่ายจากรูปแบบ CAPEX เป็น OPEX ช่วยรักษา Cash Flow และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของ TCO (Total Cost of Ownership) ได้มากขึ้น
ด้าน นางสาวปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ ประธานกรรมการ ธุรกิจคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า หัวเว่ย คลาวด์ เล็งเห็นถึงจุดเด่นของ เนทติเซนท์ ทั้งแง่ของความแข็งแกร่งด้าน Methodology และประสบการณ์วางระบบซอฟต์แวร์ SAP, ERP กว่า 20 ปี ซึ่งบริษัทมั่นใจว่าการร่วมมือ นำเทคโนโลยี Infrastructure หลักของ Huawei Cloud มาใช้ในครั้งนี้ จะสามารถสร้างสรรค์ Cloud Platform ที่ดีที่สุดได้ เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมภาคธุรกิจไทยครั้งใหม่ และยังแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ 2 องค์กรในการมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถตอบโจทย์การนำพาลูกค้าไปสู่ Digital Enterprise ได้อย่างตรงจุด แสดงถึงจุดแข็งของเนทติเซนท์ ในการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าทุกธุรกิจและหลากอุตสาหกรรมได้อย่างชัดเจน
“การร่วมมือนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Infrastructure ของ Huawei Cloud มาใช้ เกิดขึ้นเพื่อเป้าหมายในการสร้างอนาคต ขับเคลื่อนธุรกิจในประเทศไทยให้เติบโต ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มี AZ (Availability Zone) ถึง 2 AZ ในประเทศ และเตรียมเสริมความแข็งแกร่งขึ้นอีก 1 AZ ในปี 2021 รองรับด้วยมาตรฐานและความปลอดภัยสูงในระดับโลก นั่นหมายความว่า การทำงานของ netizen.cloud จะถูกยกระดับไปอีกขั้น ให้สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูล และย้ายฐานข้อมูลของระบบ SAP, ERP ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังเสริมการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น เรื่อง Cash Flow Management หรือการวาง Provision ด้าน Performance ต่างๆ ของลูกค้า ที่สามารถช่วยวางแผนเรื่องการลงทุนในอนาคตได้เป็นอย่างดี”
ปัจจุบัน เนทติเซนท์ มีโซลูชั่นที่คอยขับเคลื่อนธุรกิจให้องค์กรชั้นนำอยู่มากมาย อาทิ “netizen.cloud” ระบบคลาวด์ที่ดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ SAP, ERP ภายใต้กระบวนการทำงาน Best Practice เพื่อย้ายฐานข้อมูล ERP และระบบโดยรอบขององค์กร สู่ Local Cloud ที่มี Hyper Scaler Cloud มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล สามารถช่วยจัดการทั้งในส่วนของ Platform Layer ไปจนถึง Application Layer ทำงานโดยทีมงานและที่ปรึกษามากประสบการณ์จากเนทติเซนท์ ที่พร้อมดูแลองค์กรตลอดเวลา ทั้งยังรองรับการทุกปรับเปลี่ยนเพื่อตอบรับต่อสถานการณ์ที่คาดเดาได้ยากในปัจจุบัน ช่วยตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าในทุกมิติ
“SAP S/4HANA” เวอร์ชัน Netizen Peony สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ พัฒนาเพิ่มเติมจากแบบ On Premise และ On Cloud เพื่อเชื่อมต่อการทำงานจากทุกส่วนเข้าไว้ด้วยกัน เหมาะสำหรับองค์กรที่มีกระบวนการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน และมี Transaction จำนวนมาก
“SAP Business ByDesign" เวอร์ชัน Netizen Arabica ระบบ Real Cloud ERP พัฒนาเพื่อตอบสนองด้วยฟังก์ชันการทำงานที่ครบวงจร ตั้งแต่ระบบ ERP, CRM, HR และ SCM รายงานผลแบบเรียลไทม์ รองรับการทำงานบน Mobile Device เพื่อการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา
“Origami.Life Collaboration Platform” แพลตฟอร์มเชื่อมโยงคนและข้อมูลในรูปแบบ Digital ที่นำไปสู่การทำ Business Process และ Digital Transformation ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์การทำงาน ของบริษัท Gen ใหม่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ดีไซน์สวย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ Employee Self-Services มีความสามารถหลักในการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กร ทั้งการ Stamp in-out เข้างาน, การเก็บข้อมูลงาน, ข้อมูลพนักงาน, การขาดลามาสาย, การอบรมพนักงาน, รวมถึงกิจกรรมงานที่ได้ปฏิบัติในแต่ละวัน โดยสามารถดูผ่านรีพอร์ท และสามารถวิเคราะห์ KPI การทำงานของบุคลากรได้อย่างโปร่งใส บนมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
“SAP S/4HANA” เวอร์ชัน Netizen Peony สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ พัฒนาเพิ่มเติมจากแบบ On Premise และ On Cloud เพื่อเชื่อมต่อการทำงานจากทุกส่วนเข้าไว้ด้วยกัน เหมาะสำหรับองค์กรที่มีกระบวนการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน และมี Transaction จำนวนมาก
“SAP Business ByDesign" เวอร์ชัน Netizen Arabica ระบบ Real Cloud ERP พัฒนาเพื่อตอบสนองด้วยฟังก์ชันการทำงานที่ครบวงจร ตั้งแต่ระบบ ERP, CRM, HR และ SCM รายงานผลแบบเรียลไทม์ รองรับการทำงานบน Mobile Device เพื่อการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา
“Origami.Life Collaboration Platform” แพลตฟอร์มเชื่อมโยงคนและข้อมูลในรูปแบบ Digital ที่นำไปสู่การทำ Business Process และ Digital Transformation ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์การทำงาน ของบริษัท Gen ใหม่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ดีไซน์สวย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ Employee Self-Services มีความสามารถหลักในการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กร ทั้งการ Stamp in-out เข้างาน, การเก็บข้อมูลงาน, ข้อมูลพนักงาน, การขาดลามาสาย, การอบรมพนักงาน, รวมถึงกิจกรรมงานที่ได้ปฏิบัติในแต่ละวัน โดยสามารถดูผ่านรีพอร์ท และสามารถวิเคราะห์ KPI การทำงานของบุคลากรได้อย่างโปร่งใส บนมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
No comments:
Post a Comment