ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก และที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวถึงความสำคัญในการเลือก จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่บนลุ่มน้ำบางปะกงเป็นสถานที่จัดกิจกรรมว่า “จ.ฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ 5,351 ตร.กม. หรือประมาณ 3.3 ล้านไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศ โดยพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะกับการทำเกษตร ด้วยแม่น้ำบางปะกงได้พัดพาดินตะกอนมาทับถมเป็นเวลานาน ก่อนที่จะไหลลงสู่อ่าวไทยที่ อ.บางปะกง โดยประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม คือ การทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้ยืนต้น และมีการทำนาขาวังที่เป็นเอกลักษณ์ อยู่ที่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง
สำหรับการทำ ‘นาขาวัง’ เป็นรูปแบบการทำนาในระบบนิเวศ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียนรู้กลไกธรรมชาติของน้ำขึ้น น้ำลง โดยทำนาข้าวในฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งก็จะปล่อยน้ำเค็มให้ไหลเข้ามาในนาเพื่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา คำว่า ‘ขาวัง’ คือ ร่องน้ำรอบแปลงนา เป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำของชาวนา ซึ่งปัจจุบันเหลือพื้นที่ทำนาขาวังเพียงแค่ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เท่านั้น กิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งนี้เป็นการสร้างต้นแบบนาขาวัง ที่ประยุกต์เข้ากับการทำโคก หนอง นา ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อสร้างระบบนิเวศให้เอื้อต่อการสร้างความมั่งคั่งทางอาหารอย่างยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา ตลอดจนอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาบรรพชนไม่ให้สูญหาย”
สำหรับการทำ ‘นาขาวัง’ เป็นรูปแบบการทำนาในระบบนิเวศ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียนรู้กลไกธรรมชาติของน้ำขึ้น น้ำลง โดยทำนาข้าวในฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งก็จะปล่อยน้ำเค็มให้ไหลเข้ามาในนาเพื่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา คำว่า ‘ขาวัง’ คือ ร่องน้ำรอบแปลงนา เป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำของชาวนา ซึ่งปัจจุบันเหลือพื้นที่ทำนาขาวังเพียงแค่ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เท่านั้น กิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งนี้เป็นการสร้างต้นแบบนาขาวัง ที่ประยุกต์เข้ากับการทำโคก หนอง นา ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อสร้างระบบนิเวศให้เอื้อต่อการสร้างความมั่งคั่งทางอาหารอย่างยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา ตลอดจนอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาบรรพชนไม่ให้สูญหาย”
กิจกรรมเอามื้อสามัคคี จ.ฉะเชิงเทรา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 ก.ย.2563 วันแรกเป็นกิจกรรมการปั่นจักรยานรณรงค์ ของกลุ่มนักปั่นสะพานบุญ 70 คน ซึ่งมีดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายไตรภพ โคตรวงษา และนายวรเกียรติ สุจิวโรดม คนมีใจเจ้าของแปลงชาวนามหานครร่วมปั่นด้วย โดยเริ่มต้นทางจากแปลงชาวนามหานคร ต.คลองสิบสี่ อ.หนองจอก กรุงเทพมหานคร จนถึงพื้นที่ของนายชัชวาล เกษมสุข ต.คลองบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี เพื่อสร้างต้นแบบโคก หนอง นาขาวัง ในวันถัดมา รวมระยะทาง 102 กม.
ด้าน นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด กล่าวเพิ่มเติมถึงรายละเอียดของกิจกรรมเอามื้อสามัคคีว่า “กิจกรรมเอามื้อสามัคคีในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกือบ 400 คน จากสมาชิกเครือข่ายมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้สมัครร่วมกิจกรรมทางเฟซบุ๊กโครงการตามรอยพ่อฯ และพนักงานของเชฟรอน เพื่อร่วมกันสร้างพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นาขาวัง แบบกสิกรรมธรรมชาติ บนพื้นที่ของนายชัชวาล เกษมสุข ที่ ต.คลองบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา กิจกรรมที่ทำ ได้แก่ ขุดคลองไส้ไก่ ปลูกแฝก ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพาะผัก ห่มดินแห้งชามน้ำชาม ปล่อยพันธุ์ปลา เป็นต้น โดยมีวิทยากรจากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ รวมถึง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) สาธิตและให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งคาดหวังว่ากิจกรรมการสร้างพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นาขาวัง แบบกสิกรรมธรรมชาติแห่งแรกใน อ.บ้านโพธิ์นี้ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ความรู้ศาสตร์พระราชามาปรับใช้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป”
ด้าน นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวถึงการทำ โคก หนอง นาขาวัง แบบ กสิกรรมธรรมชาติว่า “การทำ โคก หนอง นาขาวัง แบบกสิกรรมธรรมชาติ จะแตกต่างจากการทำนาขาวังแบบดั้งเดิมเล็กน้อย โดยจะทำคันดินกั้นระหว่างแปลงนากับคูน้ำ เพื่อประโยชน์ในการกักเก็บน้ำและควบคุมระดับน้ำในแปลงนา และยังสามารถปลูกพืชผักไว้เป็นอาหารบนคันนา การทำนาขาวังในแบบกสิกรรมธรรมชาติจึงปั้นคันนาส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาจากการทำนาขาวังตามปกติ นอกจากนี้ยังต้องเป็นการทำเกษตรอินทรีย์อีกด้วย
ด้าน นายชัชวาล เกษมสุข (แอ้ม) เจ้าของพื้นที่ “โคก หนอง นาขาวัง” ต.คลองบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวถึงความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการทำแปลงต้นแบบ โคก หนอง นาขาวัง แบบกสิกรรมธรรมชาติว่า “ครอบครัวมีอาชีพทำขนมเปี๊ยะขายอยู่ในเมืองฉะเชิงเทรา แม้จะขายดีแต่ต้องอดหลับอดนอน จึงเห็นว่าเงินไม่ใช่คำตอบ จึงผันตัวมาทำการเกษตรโดยศึกษาเองจากอินเตอร์เน็ตอยู่ 2 ปี ก่อนจะมีโอกาสได้ไปอบรมกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน (ศพช.) ชลบุรี กรมการพัฒนาชุมชน ปัญหาของพื้นที่คือ เป็นดินเลน ดินเปรี้ยว ต้องปรับสภาพดินด้วยการห่มดินบำรุงดิน ขุดหลุมกว้างผสมดินเพื่อปลูกต้นไม้ โซนหลังเป็นนา ขุดหนองน้ำ 3 หนอง ซึ่งผมตั้งใจสร้างให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างเพื่อสร้างความสุขอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรอบข้าง ให้เห็นว่าเราสามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ให้เกิดขึ้นได้ และเมื่อที่ของเรามีน้ำอุดมสมบูรณ์ก็สามารถปลูกข้าวได้หลายรอบ สำหรับความฝันในตอนนี้คืออยากปลูกข้าวให้แม่กิน มีข้าว มีผัก มีไข่ มีปลากิน พึ่งตัวเองได้และแบ่งปันเพื่อนบ้าน ตั้งใจว่าจะทำให้พื้นที่นี้สามารถเลี้ยงตัวได้พออยู่พอกินได้ภายใน 5 ปี”
No comments:
Post a Comment