วันที่ 14 มิถุนายน 2568 นายอดิศักดิ์ ตันติวงศ์ ประธานศาลอุทธรณ์ กล่าวขอบคุณ และมอบของที่ระลึกให้นายสำราญ สินธ์ทอง เลขาธิการมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันดามัน ประธานโครงการปล่อยเต่าคืนสู่ท้องทะเลอันดามัน / พลเรือตรีพงษ์มิตร ณรงค์กูล ผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3, / นายมนตรี ทองแก้ว หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและสื่อความหมาย ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติ ทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต กรมอุทยานแห่งชาติ สำนัก๕ นครศรีธรรมราช ในการจัดกิจกรรมปล่อยเต่าทะเล Big Cleaning Day ชายหาดอุทยานแห่งชาติสิรินาถ หาดในยาง จังหวัดภูเก็ต
นายสำราญ สินธ์ทอง เลขาธิการมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน และผู้อำนวยการ สำนักประสานงานโครงการรักษ์ทะเลไทย ประธานโครงการกล่าว ร่วมกันจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์เต่าทะเล อันดามัน กิจกรรมดังกล่าวไม่ใช่แค่การอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเต่าทะเลซึ่งเป็นสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ และมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลเท่านั้น แต่การปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติยังช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลและสัตว์ทะเลหายาก และยังเป็นการอนุรักษ์ “ใจ” ของผู้คนให้กลับมาเชื่อมโยงกับท้องทะเลอีกครั้ง ที่สำคัญเป็นการสอดรับกับนโยบายรัฐบาลภายใต้ยุทธศาสตร์ Green Economy BCG Model ที่รัฐบาลมุ่งเน้นในปี 2567–2570 โดยมีเป้าหมายให้ชายหาดในยาง ภายในอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ที่เงียบสงบ กลายเป็นเวทีแห่งความหวัง เป็นชายหาดที่ใสสะอาด มีความสมดุลทางระบบนิเวศ เมื่อคณะผู้บริหารศาลชั้นอุทธรณ์ทั้ง ๑๑ ศาล ร่วมกับ มูลนิธินิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันดามัน ปลุกกระแสรักษ์ทะเลอันดามัน จัดกิจกรรมปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติ อย่างอิสระ สร้างภาพความประทับใจท่ามกลางรอยยิ้มของนักท่องเที่ยว นักอนุรักษ์ และเยาวชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการเพิ่มประชากรเต่าทะเล ซึ่งเป็น “นักเดินทางแห่งมหาสมุทร” ที่กำลังเสี่ยงต่อการ สูญพันธุ์ มุ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่คุ้มครองทางทะเล การอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก เช่น เต่าทะเลและพะยูน ตลอดจนการส่งเสริมบทบาทของชุมชนชายฝั่งในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า ประเทศไทยมีเต่าทะเลทั้งหมด 5 ชนิด พบในฝั่งอันดามัน 4 ชนิดหลัก ได้แก่ เต่ากระ, เต่าตนุ, เต่าหญ้า และเต่าหัวค้อน ปัจจุบันพบรังวางไข่ลดลงเหลือ ไม่ถึง 400 รังต่อปี ในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดพังงา ภูเก็ต ซึ่งเคยมีมากกว่า 1,000 รังเมื่อ 20 ปีก่อน สำหรับอัตราการรอดของลูกเต่าทะเลจากไข่ถึงวัยเจริญพันธุ์เฉลี่ยเพียง 1 ใน 1,000 ตัว สาเหตุหลักคือ การสูญเสียแหล่งวางไข่ / ขยะพลาสติกในทะเล/ แสงไฟจากรีสอร์ท ริมชายหาดที่รบกวนการนำทางของลูกเต่า รวมถึง การติดเครื่องมือประมง
คณะผู้บริหารศาลชั้นอุทธรณ์ทั้ง ๑๑ ศาล คณะครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษารวม 200 คน ได้ชมนิทรรศการการเพราะปลูกหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟู และอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลให้คงความอุดมสมบูรณ์ โดยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต ร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการปลูกหญ้าทะเลชนิดหญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia) บรรยายให้ความรู้เรื่อง หญ้าทะเลและวิธีการย้ายปลูกหญ้าทะเล ตลอดจนเสริมสร้างทัศนคติ วิสัยทัศน์ ให้เกิดความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาและถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้
No comments:
Post a Comment